บทความ

SHARE

มะคำดีควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall. Sapindus rarak A. DC 
ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree, Soapberry 
วงศ์ : COMPOSITAE (ASTERACEAE)
สมุนไพรมะคำดีควาย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ประคำดีกระบือ ประคำดีควาย ส้มป่อยเทศ (เชียงใหม่), มะซัก (ภาคเหนือ), มะคําดีควาย (ภาคกลาง), คำดีควาย (ภาคใต้), สะเหล่เด (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชะแซ ซะเหล่เด ณะแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลี่ชีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลำสิเล้ง หมากซัก (ลั้วะ) เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้น มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะของลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลอมเทา พื้นผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ เรือนยอดของลำต้นหนา ทึบใบ ใบอ่อนเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อหนุ่งมีใบย่อยประมาณ 5-9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะ เป็นรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากัน ส่วนปลายใบเรียงแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.6-1.2 นิ้วยาว ประมาณ 2.5-4 นิ้ว ใบมีสี เขียวคล้ายๆ กับใบทองหลาง ดอกออกเป็นช่อใหญ่ออกตาม บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก สีขามนวลหรือสีเหลืองอ่อนๆ ดอกหนึ่งมีกลีบ รองกลีบดอกเล็ก ประมาณ 4 กลีบ โคนกลีบ จะเชื่อมติดกันและมีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบข้างนอกจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปนแดง ขึ้นประกายและตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 410 อันผล ผลมีรูปลักษณะค่อนข้างกลม ออกรวมกันเป็นพวง ขนาดของผลมีเส้นตผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6นิ้ว ผลมีสีดำ ข้างในผลมีเมล็ด เปลือกหุ้มที่แข็ง ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นทั่วไป ในบริเวณป่าเบญจพรรณ มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดเพาะส่วนที่ใช้ เปลือกลำต้น , ใบ, ผล, เมล็ด

สรรพคุณ
ใบ                           นำมาปรุงใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ แก้ทุราวสา
เปลือกลำต้น            นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยา แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ฝีอักเสบ แก้ฝีหัว คว่ำ และเป็นยาแก้กษัย
ต้น                         เมล็ด ใช้เมล็ดสด หรือแห้ง นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกหรือเอามาละลายน้ำล้างแผล แก้โรคผิวหนังผล
ผล                         นำมาคั่วให้เกรียม จากนั้นใช้ปรุงเป็นยาดับพิษได้ทุกชนิด แก้กาฬภายใน แก้ไข้
 
วันที่ลงบทความ : 16 มีนาคม 2558

บทความอื่น